金曜日, 1月 01, 1971

91ADUMV


  • ความรู้ปฏิทิน ได้ยกมาจาก คัมภีร์โหราศาสตร์ ฉบับมาตรฐาน ว่า :-


  • ประสูติ
    เวลา ๑๑.๐๐ น.
    ๖ ๑๕ ฯ  ๖
    ปีจอ ศักราช ๖๘

  •  
  • ตรัสรู้
    เวลา ๕.๓๓ น.
    ๔ ๑๕ ฯ  ๖
    ปีระกา ศักราช ๑๐๓

  •  
  • นิพพาน
    เวลา ๕.๕๐ น.
    ๓ ๑๕ ฯ  ๖
    ปีมะเส็ง ศักราช ๑๔๗

  • คำว่าศักราช คือ อัญชันศักราช หรือจุลศักราชในครั้งโน้น


                                   ระปัจเจกพุทธเจ้า[1] (บาลี: ปจฺเจกพุทฺธ; สันสกฤต: ปฺรตฺเยกพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง[2] ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา เป็นดังนี้เพราะเมื่อตรัสรู้ธรรมแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าเกิดอัปโปสุกกธรรม[3] คือ ไม่ขวนขวายที่จะแสดงธรรม ยินดีอยู่วิเวกตามลำพัง จึงประจำอยู่แต่ในป่า นาน ๆ จึงจะเข้าเมืองเพื่อบิณฑบาตสักครั้ง 

                                   พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนกัป และตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นศาสนาพุทธ และอาจมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ประกาศลัทธิศาสนาจนเกิดพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

                                   ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มรสมาจากในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจจะอธิบายได้ด้วยการบอกสอนถึงรสชาตินั้น (มรรค-ผล) ให้บุคคลอื่นรู้ตาม (คือสอนได้แต่ไม่อาจกระทำพยากรณ์) พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่ก่อตั้งบัญญัติหรือสถาปนาสถาบันในรูปของศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้บำเพ็ญพรตและผู้ถวายทานให้  พระปัจเจกพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในช่วงพุทธันดร กล่าวคือ เป็นช่วงเวลาที่โลกว่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ จึงไม่มีพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้น


                                   พระปัจเจกพุทธเจ้ามีความแตกต่างจากพระพุทธเจ้า คือ อาจเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ อาจเป็นคหบดี หรือคนชั้นสังคมใดก็ได้ไม่จำกัด[4][5][6] แต่สั่งสมความแจ่มแจ้งที่จะสิ้นสงสัยในธรรมลักษณะมามากพอ เมื่อได้เกิดเบื่อหน่ายในโลกิยธรรม จึงออกบวชแล้วศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ ก็ไปชุมนุมที่เขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็นเงื้อมเขาแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์เชิงเขาหิมาลัย โดยมีเหล่าช้างฉัททันต์โขลงหนึ่งคอยปรนนิบัติรับรองดูแลอยู่เป็นประจำ


                                   คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ถือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกา) ปรากฏในตำราทางพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบไว้ว่า การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวเที่ยวไปลำพังผู้เดียวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เช่นนั้น เป็น  “ ประดุจนอแรด ” (*นักศึกษากล่าวถึง นัยยะเรื่อง ขคฺควิสาณกปฺโป ว่า หมายถึง แรดนอเดียว อาจแปลว่ามีแค่เฉพาะในเขตประเทศอินเดีย ซึ่งแตกต่างจากแรดสายพันธุ์อื่น) พระปัจเจกพุทธเจ้ามีมติตกลงต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อแสดงสัมโมทนียธรรม ในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ


                                   พระปัจเจกพุทธเจ้ามีเป็นจำนวนมาก พระไตรปิฎกได้แสดงเรื่องราว ถึงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า 5 พระองค์บ้าง พระปัจเจกพระพุทธเจ้า 8 พระองค์บ้าง พระปัจเจกพระพุทธเจ้า 500 พระองค์บ้าง ดังเหตุการณ์ที่ได้ประชุมกันที่ภูเขาคันธมาทน์เป็นต้น  เพราะการหลีกเร้นไม่ปรากฏตัว แต่อยู่ในที่เฉพาะป่าเขา เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก


                                   *มีคำเปรียบเปรยถึงความรู้ของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก[7] ว่า “ ญาณของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นกับ ‘ แสงพระจันทร์ ’ ญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นกับแสงสุริยมณฑลพันดวง ”


แหล่งข้อมูล อ้างอิง.


  1.  ปัจเจกพุทธาปทาน, ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒
  2.  เดิมพระคัมภีร์กล่าวไว้ ๒ ประเภท แต่ความแห่งอรรถกถา ว่า มี ๔ ประเภท
  3.  พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ 
  4.  พระปัจเจกพุทธะ ชาตินายพราน ได้รับคำสอนจากพระโพธสัตว์ชาตินกยูงทอง
  5.  พระปัจเจกพุทธะ ชาติชาวไร่ ,นักเดินทาง ,คนจ่ายตลาด ,นายอำเภอ
  6.  พระปัจเจกพุทธะ ชาตินายช่างกัลบก
  7.  พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๗๑ บรรทัดที่ ๑๕-๑๗ 


TiPiTaKa-dHaMmAhOmE-CoM

Due which names are the same Just bypassed it …