金曜日, 1月 01, 1971

91ADUMV


  • ความรู้ปฏิทิน ได้ยกมาจาก คัมภีร์โหราศาสตร์ ฉบับมาตรฐาน ว่า :-


  • ประสูติ
    เวลา ๑๑.๐๐ น.
    ๖ ๑๕ ฯ  ๖
    ปีจอ ศักราช ๖๘

  •  
  • ตรัสรู้
    เวลา ๕.๓๓ น.
    ๔ ๑๕ ฯ  ๖
    ปีระกา ศักราช ๑๐๓

  •  
  • นิพพาน
    เวลา ๕.๕๐ น.
    ๓ ๑๕ ฯ  ๖
    ปีมะเส็ง ศักราช ๑๔๗

  • คำว่าศักราช คือ อัญชันศักราช หรือจุลศักราชในครั้งโน้น


                                   ระปัจเจกพุทธเจ้า[1] (บาลี: ปจฺเจกพุทฺธ; สันสกฤต: ปฺรตฺเยกพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง[2] ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา เป็นดังนี้เพราะเมื่อตรัสรู้ธรรมแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าเกิดอัปโปสุกกธรรม[3] คือ ไม่ขวนขวายที่จะแสดงธรรม ยินดีอยู่วิเวกตามลำพัง จึงประจำอยู่แต่ในป่า นาน ๆ จึงจะเข้าเมืองเพื่อบิณฑบาตสักครั้ง 

                                   พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนกัป และตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นศาสนาพุทธ และอาจมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ประกาศลัทธิศาสนาจนเกิดพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

                                   ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มรสมาจากในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจจะอธิบายได้ด้วยการบอกสอนถึงรสชาตินั้น (มรรค-ผล) ให้บุคคลอื่นรู้ตาม (คือสอนได้แต่ไม่อาจกระทำพยากรณ์) พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่ก่อตั้งบัญญัติหรือสถาปนาสถาบันในรูปของศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้บำเพ็ญพรตและผู้ถวายทานให้  พระปัจเจกพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในช่วงพุทธันดร กล่าวคือ เป็นช่วงเวลาที่โลกว่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ จึงไม่มีพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้น


                                   พระปัจเจกพุทธเจ้ามีความแตกต่างจากพระพุทธเจ้า คือ อาจเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ อาจเป็นคหบดี หรือคนชั้นสังคมใดก็ได้ไม่จำกัด[4][5][6] แต่สั่งสมความแจ่มแจ้งที่จะสิ้นสงสัยในธรรมลักษณะมามากพอ เมื่อได้เกิดเบื่อหน่ายในโลกิยธรรม จึงออกบวชแล้วศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ ก็ไปชุมนุมที่เขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็นเงื้อมเขาแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์เชิงเขาหิมาลัย โดยมีเหล่าช้างฉัททันต์โขลงหนึ่งคอยปรนนิบัติรับรองดูแลอยู่เป็นประจำ


                                   คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ถือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกา) ปรากฏในตำราทางพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบไว้ว่า การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวเที่ยวไปลำพังผู้เดียวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เช่นนั้น เป็น  “ ประดุจนอแรด ” (*นักศึกษากล่าวถึง นัยยะเรื่อง ขคฺควิสาณกปฺโป ว่า หมายถึง แรดนอเดียว อาจแปลว่ามีแค่เฉพาะในเขตประเทศอินเดีย ซึ่งแตกต่างจากแรดสายพันธุ์อื่น) พระปัจเจกพุทธเจ้ามีมติตกลงต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อแสดงสัมโมทนียธรรม ในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ


                                   พระปัจเจกพุทธเจ้ามีเป็นจำนวนมาก พระไตรปิฎกได้แสดงเรื่องราว ถึงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า 5 พระองค์บ้าง พระปัจเจกพระพุทธเจ้า 8 พระองค์บ้าง พระปัจเจกพระพุทธเจ้า 500 พระองค์บ้าง ดังเหตุการณ์ที่ได้ประชุมกันที่ภูเขาคันธมาทน์เป็นต้น  เพราะการหลีกเร้นไม่ปรากฏตัว แต่อยู่ในที่เฉพาะป่าเขา เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก


                                   *มีคำเปรียบเปรยถึงความรู้ของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก[7] ว่า “ ญาณของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นกับ ‘ แสงพระจันทร์ ’ ญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นกับแสงสุริยมณฑลพันดวง ”


แหล่งข้อมูล อ้างอิง.


  1.  ปัจเจกพุทธาปทาน, ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒
  2.  เดิมพระคัมภีร์กล่าวไว้ ๒ ประเภท แต่ความแห่งอรรถกถา ว่า มี ๔ ประเภท
  3.  พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ 
  4.  พระปัจเจกพุทธะ ชาตินายพราน ได้รับคำสอนจากพระโพธสัตว์ชาตินกยูงทอง
  5.  พระปัจเจกพุทธะ ชาติชาวไร่ ,นักเดินทาง ,คนจ่ายตลาด ,นายอำเภอ
  6.  พระปัจเจกพุทธะ ชาตินายช่างกัลบก
  7.  พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๗๑ บรรทัดที่ ๑๕-๑๗ 


TiPiTaKa-dHaMmAhOmE-CoM

5 件のコメント:

  1. #เรื่อง “แสดงคติสมบูรณ์” ให้กระทำกลับคืน ศัพท์ ปฏิเสธ ‹ ?

    “ครั้งนี้ พวกเราท่าน รู้เรื่องอยู่แล้ว, ฉะนั้น ข้าพเจ้าขอเรียนว่า ในลักษณะของความ หรือข้อมูล ที่คนต้องเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต ก็จะต้องอยู่ในฐานที่ต้องบริการ อยู่ด้วยโสตหนึ่ง ซึ่งหมายถึงการที่ตนยอมรับให้มีเงื่อนไข ต่อกระบวนวิธี แห่งสื่อ ข้อความ ข้อมูล และข่าวสาร ทางอินเทอร์เน็ต นั่นหล่ะ, เป็นอันที่เราต้องตกอยู่ในฐานให้บริการ แก่เจ้าของที่อยู่ ซึ่งก็คือ! เครื่องมือ อันนั้น

    คือว่า เราไม่ได้เป็นบริกรโดยตรง แต่ก็เป็นอยู่กลายๆ เพราะเรารับ หรือยอมรับอยู่ ว่า จะใช้งาน, ฉะนั้น เรื่องเป็นไปแต่ทีนี้ พึงเป็นความของตน คนใด จะต้องประกาศให้ชัดว่าของตนเอง เป็นอย่างอื่นอีก มีเหตุผล! เป็นอย่างอื่นๆ และยอมรับแค่ว่า จะไม่เป็นไปโดยบริการ โดยฐานที่ตนจะต้องบริการ เพราะที่แท้จริงยังมิได้มีความสนิทใจ และ!เพราะที่แท้การที่คนเราเข้ามาใช้ทุกสิ่งในระบบอินเทอร์เน็ต ย่อมจะต้องควร! ถูกรับรอง ว่า ตนจะได้รับบริการ และทุกคนย่อมควรที่จะได้ถูกรับรองว่า จะได้รับแต่บริการ ที่เป็นความอันถูกผลประโยชน์ และเป็นไป ในอันที่จะตกลงได้เฉพาะ ก็แต่ที่ซึ่งจะเป็นความดีแท้ ของทุกคนทุกฝ่าย ได้จริงๆ

    ดังนั้น จึงเป็นอันว่า การที่ทุกคนเราเข้ามารับบริการ โดยฐานที่ตนจะต้องบริการ นั้นๆ จึงควรจะต้องมีเงื่อนไข, แต่ว่า!ตอนนี้ยังไม่มีซะหรอก เช่นนั้น! เพราะทุกที่ ยังคงมีแต่กฎหมาย และวิธีอันครึ! ที่ยังครอบคลุมอะไรไปได้ และยังดีได้ไม่ทั้งหมด, กล่าวแก่การณ์ ไปดั่งนั้น เช่นนี้แล้ว ๆ ครั้งนี้ข้าพเจ้าจึงขอจบซะทีว่า ตนไม่ขออยู่ในฐานที่จะบริการด้วยกับใคร กับเครือข่ายอันใด ชื่อใด อันหนึ่ง ที่ไหน? ทั้งนั้น คงเฉพาะความแต่ ความจริงที่เป็นอยู่ เป็นเพราะการมิชอบ มีอยู่ และก็ความจำเป็น เพราะว่าโลกของเรายังคงไปไม่ถึงความดีพร้อม อันที่จะเข้ามารองรับ

    ฉะนั้น ทุกคน ทุกท่าน จงเข้าใจเถิดว่า เรา ท่าน ถึงแม้กระทั้งข้าพเจ้าเองจะกล่าวอย่างดี อยู่นี้, ที่แท้กล่าวไปอยู่เพราะ หวังจิตใจ ในการร่วมบทประเมิน ประมวล บทข้อความข้อมูลความรู้ เฉพาะที่เป็นไปโดยการกระทำมาซึ่งสถิติ มาประกอบ อันที่เป็นประมาณ ต่อประมาณการที่ตน จะทำ หรือที่ทุกๆคนควรจะเป็นเครื่องมือ ให้แก่ทุกผู้ ทุกคน ได้กระทำ ได้ โดยหวังใจว่า จะให้ มีความรู้ ไปกับข้อมูล ที่ใกล้กันกับประโยชน์ ที่แท้จริง ไปด้วยกัน” (กระทำกลับคืน กระทำสมบูรณ์ คำว่า “ปฏิเสธ” rb.gy/8sjrss )

    返信削除
  2. #เรื่อง “แสดงคติสมบูรณ์” ให้กระทำกลับคืน ศัพท์ สรณคมนํ ‹ ?

    “ข้าพเจ้าได้อธิษฐาน เพื่อความลี้ลับ ตามแก้คำผิด หมวดอักษร ร เรือ, ลงเมื่อ ท่านทั้งหลาย เมื่อกระทำ แล้ว ก็ย่อมจะช่วยให้เรื่องต่าง ๆ ในความลี้ลับดีขึ้นอย่างแน่นอน ได้เช่นกัน หรือไม่ท่านก็นิวัตน์อักษร หรือไม่ก็ยังอักษร ที่พากย์ ให้ไปยังภาคส่วนต่าง ๆ อันเป็นอาณาจักรอื่น ใน ณ ที่ใด ที่ยังมิเคยได้ปรากฏความด้วยเรื่อง อักษรหมวดนี้

    ความยิ่ง ตรง มมร ก็ยิ่งจะเห็นได้ชัด ยิ่งว่า เพราะมีฉบับข้อหลัก และข้อรวมอรรถกถา ชุด ๙๑ เล่ม ลงมาในที่อยู่ทางอินเทอร์เน็ต เป็นเกณฑ์ผลักดัน, และเพราะว่า เมื่อ ทุก ๆ คน เข้าร่วมด้วย และช่วยกันขีดเขียน! ลงเพื่อความลี้ลับ แล้วตั้งจิตอธิษฐาน ไปเพื่อความสมบูรณ์บริบูรณ์ นั้น ให้ปรากฏ การณ์ ก็ย่อมเป็นไปตามจิตเจตนา

    ดั่งเช่นข้าพเจ้า ซึ่งตัวแทนของทุกผู้คน เช่นกัน แต่ซึ่ง ในที่ลี้ลับ ล้ำลึกเกินคิด แลในสิ่งที่ได้กระทำอยู่ ดั่งการได้เข้าเขียน คำว่า ‘ศีรษะ!’ ให้ถูกต้องเป็นต้น และการได้เข้าเขียน คำว่า ‘สรณ!’ ให้ถูกต้อง เป็นต้น ลงแต่ที่ อย่างน้อยที่สุด ณ ที่ซึ่ง อันใดอยู่ปราศจากซึ่งขันธ์ อันร่างกายแบบมนุษย์ แบบนี้ คืออินเทอร์เน็ต ที่อยู่ ด้วยที่ไม่มีร่างกายแบบมนุษย์ ตามที่จะฝึก

    แลด้วยดี คือต้องฝึกจิต ให้ตรงต่อธรรมที่บริบูรณ์ ฟื้นทางดีที่ถาวรให้ใกล้เข้า มาต่อความเหนือมนุษย์ ตามประกอบธรรมซึ่งบริบูรณ์นั้น ของพระสยัมภู สัมมาสัมพุทธเจ้า นับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ข้าพเจ้าได้เข้ากระทำความสมบูรณ์ บริบูรณ์ ซึ่งศัพท์ หมวด อักษร ร เรือ ณ ที่เขียน!และสะกด ลงเป็นความสถิตถูก และดีถาวรแห่งความวัฒนภาษา ดังนี้แล้ว” (กระทำกลับคืน กระทำสมบูรณ์ คำว่า “สรณคมนํ” rb.gy/c18vdl )

    返信削除
  3. #เรื่อง “แสดงคติสมบูรณ์” ให้กระทำกลับคืน ศัพท์ เยื่อกระดูก ‹ ?

    “พูดถึงภาษา ถิ่นอีสาน เขาว่า ‘แถน’ กันบ้างหรือ? ถ้าไม่เห็นเรื่องเทวดา? แล้ว อย่างนี้ บางคนก็อาจเสียวไส้ เพราะไม่ใช่พวกแม่บ้าน แม่ค้า ร้านตลาดอะไร? ที่เมื่อซื้อของอะไร! ต้องการรู้จักแต่ของแถม , แต่!เราพูด คำว่า แถน! อะไรไปนี้ แม่บ้านเรา เขาคิดถึง ไปเรื่องนี้ไปเลย โดยที่เธอเองก็ยังมิทันจะฟังคำพูดของเรา ให้ดี ๆ สักหน่อย

    แต่เพราะตัวเรา ไม่ได้มักไปชอบ เรื่อง ‘ของแถม’ เราก็ไม่ได้ไปสน ด้วยหร้อก , ก็แล้วแต่เธอ จะไปคิดอะไรของเธอไป , เพราะเรามี แต่นึก ร้อง โอ้ย! มาแต่ไหน ๆ เพราะเรื่องไปมาแล้ว ต้องโดนของแถม แลก็ค่อนข้างจะเป็นของแถม! ที่มาค่อนข้างจะหนัก และก็จำนวนมาก กับวิธีการทางไมตรี แบบจับยัด จับพลัดจับผลู สุ่มสี่สุ่มห้าไปบ้าง ซะก่อนเถ้อะ เพราะว่าพวกฉัน ไม่รู้ ว่าจะต้องทำอย่างไร?

    ซึ่งความ คับข้องใจ ดั่งกล่าวนี้ ก็น่าแค่นไค้ มาดั่งเรื่องของแถม อยู่นั่นเอง , อ๊ะ ของแถน! นั่นเอง ขอให้ท่านจงอ่านให้ดีก่อน ว่า แถน ศัพท์ ต้อง นอ หนูสะกด หมายถึงพระ หมายถึงเทวดา ,ไม่ใช่ ว่าด้วยเรื่องของแถม ซึ่งแม่บ้านเรา ของตัว ย่อมจะไปพูดแต่เรื่องนี้ เท่านั้น , ไม่รู้แต่เฉพาะความนัยของเรื่อง ของเรา อันที่ก็เป็น ที่ซึ่ง เรื่อง ดั่งที่ พวกเราพูด!ไปกับสิ่งลี้ลับ ดั่งนี้แหละ ลงไป ตรงหน้ากระดานแบบนี้ อย่างนี้ นั่นแหละ ทุกท่าน

    ต่อแต่!เมื่อว่าเป็น ศัพท์ ‘แถน’ รักด้วยติดตามการพูดภาษาพื้นถิ่น ดั่งที่ชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่านพูด ท่านใช้กำหนด เพื่อเกริ่นเข้าเรื่อง หรือเพื่อจะพูดกันไป ถึง ‘อรรถะ และแบบแผน’ เช่นว่า งานอะไรหนอ? ที่พึงจะได้วิเศษดั่งเทวดาบ้าง จะต้องอย่างไร? ท่านก็จึงนำมา กล่าวกัน ถึงเรื่อง ‘แถน’ หรือเที่ยวหาดูข้อความคำพระ คำพูด ที่พระสงฆ์ บรรจงมาบอกกล่าว มาบอกแถม ,ไม่ใช่!เขามาพูดถึงเรื่องของแถม

    ดั่งนี้ ไม่ใช่!เรื่องเดียวกัน ดั่งกับเวลา ในกาลใด ณ คราวใด ด้วยแต่ที่พวกเรา เป็นคน แบบจำพวกที่ต้องโคจรไปแหล่งอบายมุข!แบบนั้น เท่านั้น ก็จึงจะไปได้ ‘ซึ่งของแถม’” ( กระทำกลับคืน กระทำสมบูรณ์ คำว่า “เยื่อกระดูก” ดูอ้าง rb.gy/mu9wzo )

    返信削除
  4. ...การค้นไปแต่พระปิฎกธรรมนี้ เป็นเรื่องกล่าวยาก เพราะควรแต่จะยกให้ท่านนักเปรียญเท่านั้น ไว้ให้ท่านจงเป็นผู้ชี้แจง เป็นคนกล่าว เพราะตนเองเรามาอ่านรู้เรียนด้วย เข้าสอบหาพิรุธ เช่นนี้ ก็เพื่อจะสอบหาความสนใจไปส่วนตัวเท่านั้น คืออยากรู้เทียบกันกับอาณัติสัญญา ที่ซึ่งเป็นความทรงจำในส่วนตน หามายิ่งเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว ๆ ย่อมอาจที่จะกล่าวไปคนละแบบ หรือคนละโลกกับหนแห่งบรรณพิภพ กับงานหนทาง ๆ หนังสือนั่นเลยเทียว เพราะที่ตัวเราถือแน่ใจ สนใจ เราเองถือตามข้อมูลไฟล์ ตามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่ทำได้นี้เท่านั้น เพราะตนจะไปเกะกะก้าวก่าย เร่ไปหาดูวัตถุข้าวของ เล่มหนังสือ หรือชุดข้อมูลตามหลักฐานเดิมวัตถุเล่มจริง เป็นต้นแท้ จะให้สามารถทำอย่างนั้นได้ไม่ กับเรื่องหนังสือดั้งเดิม ตัวต้นฉบับตัวจริงของจริง ตนเอง เป็นใคร ในคนธรรมดา ย่อมจะหามีทางรู้รายละเอียดอย่างนั้นไม่ได้

    แล้วการ ควรจะว่ารู้พระปิฎกธรรม ก็จึงต้องรู้ต่างกันไป อย่างนี้...

    返信削除